10 กันยายน 2553

การจัดระเบียบทางสังคม

การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม
1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ
1. บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
<1.> วิถีประชา หรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แนวทางการปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ยอมรับและปฏิบัติตามความเคยชิน
<2>. กฎศีลธรรม หรือจารีต หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีความสำคัญมากกว่าวิถีประชา หากฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามและลงโทษและมีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
<3.> กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ควบคุมความประพฤติของคนในสังคม ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำหนดไว้
2. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น หรือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมและบุคคลเดียวอาจมีหลายสถานภาพ
ได้
ลักษณะของสถานภาพ
1. เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น อารีย์เป็นนักเรียน สมชาติเป็นตำรวจ เป็นต้น
2. บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สมชาติเป็นตำรวจ เป็นพ่อและเป็นข้าราชการ
3. เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
4. เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม
สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
2. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ ได้แก่ การประกอบอาชีพ การศึกษา การสมรส เช่น บิดา
3. บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดง พฤติกรรมตามสถานภาพ
สถานภาพและบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
•สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ
•บทบาทเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำการที่บุคคลมีหลายสถานภาพอาจเกิดบทบาทที่ขัดกัน (Roles conflicts) หมายถึง การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกันและขัดกันเองทำให้ยากต่อการปฏิบัติตามบทบาทใด บทบาทหนึ่ง
การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น
1. การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล
2. ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมายซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด กระบวนการขัดเกลาทางสังคม หมายถึง กระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มใหญ่เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ::
1. เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
2. เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
3. เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
4. เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม 1. บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ
2. ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ
3. ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม อาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหาย ทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสังคม
กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม
1. ครอบครัว
2. กลุ่มเพื่อน
3. โรงเรียน
4. กลุ่มอาชีพ
ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น