23 พฤษภาคม 2553
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ
1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก
ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะพระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ในสมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
พุทธศาสนิกชน ควรปฏิบัติตนและเข้าร่วมพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ดังนี้
1.ตอนเช้าทำบุญตักบาตรที่วัด รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และเจริญจิตภาวนา
2. ตอนค่ำประชาชนมาร่วมพิธีเวียนเทียนโดยมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ ในขณะที่เวียนเทียนให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 6 วัน ดังกล่าวแล้วยังมีวันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ” เป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไป การปฏิบัติตนวันธรรมสวนะ หรือวันพระ คือ
1.ชาวพุทธที่ไปทำบุญที่วัดในวันพระ คือ เมื่อถึงวันพระ ชาวพุทธก็ไปทำบุญที่วัด เตรียมอาหารคาว หวาน จัดใส่ปิ่นโต พร้อมนำดอกไม้ ธูป เทียนบูชาพระประธานที่วัด
2.ชาวพุทธไปรักษาศีลอุโบสถ รักษาศีล 5 ศีล 8 จะค้างที่วัด ชาวพุทธจะไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด นิยมสวมชุดสีขาว เพื่อระวังจิตใจของตนเองให้ขาวสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนผ้าสีขาวที่ใส่หรือสวมชุดสุภาพเรียบร้อย
2. ตอนค่ำประชาชนมาร่วมพิธีเวียนเทียนโดยมาพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถ ในขณะที่เวียนเทียนให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 6 วัน ดังกล่าวแล้วยังมีวันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ” เป็นวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ หรือ 14 ค่ำ ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไป การปฏิบัติตนวันธรรมสวนะ หรือวันพระ คือ
1.ชาวพุทธที่ไปทำบุญที่วัดในวันพระ คือ เมื่อถึงวันพระ ชาวพุทธก็ไปทำบุญที่วัด เตรียมอาหารคาว หวาน จัดใส่ปิ่นโต พร้อมนำดอกไม้ ธูป เทียนบูชาพระประธานที่วัด
2.ชาวพุทธไปรักษาศีลอุโบสถ รักษาศีล 5 ศีล 8 จะค้างที่วัด ชาวพุทธจะไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด นิยมสวมชุดสีขาว เพื่อระวังจิตใจของตนเองให้ขาวสะอาดบริสุทธิ์ เหมือนผ้าสีขาวที่ใส่หรือสวมชุดสุภาพเรียบร้อย
22 พฤษภาคม 2553
การปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองสมัยอยุธยา
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร รวบรวมไพร่พลและเสบียงเตรียมพร้อมเมื่อมีศึก และสมุหนายก บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนและดูแลจตุสดมภ์ นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานขึ้น จากเดิม 4 กรม เป็น 6 กรม ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กรม คือ
1) กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
2) กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศนอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมละรับผิดชอบในแต่ละกรม ดังนี้ กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดีอนึ่ง เนื่องจากในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงย้ายที่ประทับไปที่เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 25 ปี (พ.ศ. 2006 - 2031) หลังจากที่ทรงประทับอยู่ที่ราชธานีมาตั้งแต่ครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี (พ.ศ. 1991 - 2006) ทำให้เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่งมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่เมืองนี้โดยให้เมืองอยุธยามีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กระทั่งมาถึงในรัชกาลต่อมา คือในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงได้ย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตามเดิม
การปกครองส่วนภูมิภาค
จัดตามแบบของสุโขทัย เพราะเมืองส่วนใหญ่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยมาก่อนซึ่งมีการแบ่งเมืองออกเป็น 4 ระดับ โดยกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง คือ1) เมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี ใช้เวลาในการเดินทางมาถึงราชธานีไม่เกิน 2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มี 4 เมือง อยู่ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง
ทิศเหนือ - เมืองลพบุรี
ทิศใต้ - เมืองพระประแดง
ทิศตะวันตก - เมืองสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก - เมืองนครนายก
2) หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป แต่ยังไม่ไกลจากราชธานีมากนัก จะมีการแต่งตั้งให้เจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง เรียกว่า ผู้รั้งเมือง หัวเมืองชั้นในเหล่านี้ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี ชลบุรี
3) หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานีออกไป ผู้ปกครองเมืองจะมาจากคนในท้องถิ่นด้วยกันและสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เคยปกครองหัวเมืองเหล่านั้นหัวเมืองชั้นนอกเหล่านี้จะมีหน่วยงานสำหรับควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของตัวเองเหมือนในราชธานี เช่น มีจตุสดมภ์เหมือนกัน รายได้ของแผ่นดินในท้องถิ่นที่เกิดจากภาษีอากรจะต้องส่งไปให้เมืองหลวงรวมถึงส่วยและการเกณฑ์แรงงานผู้คนไปช่วยราชการของบ้านเมืองตามที่ถูกเรียกไปยังราชธานี ในบางครั้งผู้ที่ปกครองหัวเมืองชั้นนอกนี้อาจเป็นขุนนางที่ถูกแต่งตั้งจากเมืองหลวงไปตามแต่ความเหมาะสม หัวเมืองชั้นนอกนี้ ได้แก่ โคราช ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง ถลาง สงขลา
4) หัวเมืองประเทศราช คือเมืองขึ้นของอยุธยา จะยังให้มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ที่เมืองหลวง เช่น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอ่อนน้อมในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราช หัวเมืองประเทศราชในสมัยนั้น ได้แก่ เขมร สุโขทัย เชียงใหม่ มะละกา ยะโฮว์
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 ทำให้อาณาจักรมีขนาดกว้างขวางขึ้นดูแลไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงใหม่มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกันซึ่งได้ใช้เป็นแบบแผนจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคัญชาตรวจตราการทหาร รวบรวมไพร่พลและเสบียงเตรียมพร้อมเมื่อมีศึก และสมุหนายก บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนและดูแลจตุสดมภ์ นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานขึ้น จากเดิม 4 กรม เป็น 6 กรม ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กรม คือ
1) กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
2) กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศนอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรม ดังนี้ กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดีอนึ่ง เนื่องจากในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงย้ายที่ประทับไปที่เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 25 ปี (พ.ศ. 2006 - 2031) หลังจากที่ทรงประทับอยู่ที่ราชธานีมาตั้งแต่ครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี (พ.ศ. 1991 - 2006) ทำให้เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่งมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่เมืองนี้โดยให้เมืองอยุธยามีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กระทั่งมาถึงในรัชกาลต่อมา คือในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงได้ย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตามเดิม
การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1) หัวเมืองชึ้นใน ทรงยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศที่เคยมีมา แล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง เมืองที่จัดให้เป็นหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ปราณบุรี สมุทรสงคราม นครชัยศรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก 2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ซึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองนั้น และมีกรมการพนักงานปกครองทุกอย่างเช่นในราชธานี หัวเมืองชั้นเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครศรีธรรมราช หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสุโขทัย กำแพงเพชร หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร พิชัย นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา พัทลุง รวมถึงเมืองขนาดเล็กอื่นๆ3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง เพียงแต่ต้องมีหน้าที่ต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาตามเวลาที่กำหนด และอาจเกณฑ์ไพร่พลและสิ่งของมาช่วยราชการตามที่ราชธานีตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงไป หัวเมืองประเทศราชในสมัยนั้น ได้แก่ เขมร ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ตะนาวศรี ทวาย
นอกจากนี้ยังมีการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้มีการแบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้า มีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด กรมสุรัสวดีมีหน้าที่ทำบัญชีหางว่าวและแยกประเภทว่าขุนนางมีเลกในสังกัดเท่าใด เพื่อจะได้สะดวกในการเรียกเข้าประจำการ
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
เกิดขึ้นในสมัยพระเพทราชา โดยให้คงการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งไว้ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การให้สมุหพระกลาโหมไปรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งทหารและพลเรือน ให้สมุหนายกรับผิดชอบหัวเมืองทางเหนือทั้งทหารและพลเรือน รวมถึงดูแลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง และพระโกษาธิบดีซึ่งเป็นเสนาบดีกรมคลัง นอกจากดูแลเกี่ยวกับเรื่องรายได้ของแผ่นดินและการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแล้ว ให้ไปคุมหัวเมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทั้งทหารและพลเรือนอีกด้วย เพื่อเป็นการง่ายต่อการเรียกกำลังพล เพราะในยามสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนจะต้องออกรบอยู่แล้วและป้องกันการก่อกบฎล้มราชวงศ์กษัตริย์ที่เกิดขึ้นมากในระยะหลังโดยสมุหพระกลาโหม เพราะมีอำนาจคุมกำลังทหารไว้จำนวนมาก สามารถกระทำการใดๆ ได้โดยง่าย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยให้เสนาบดีกรมคลังไปคุมหัวเมืองทางใต้แทนสมุหพระกลาโหม คงเหลือให้สมุหพระกลาโหมมีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น สันนิษฐานว่าสมุหพระกลาโหมอาจกระทำความผิดบางอย่างจึงถูกลดอำนาจหน้าที่ลง
การปกครองของไทยสมัยสุโขทัย
ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
การปกครองสมัยสุโขทัย การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นของการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ลักษณะคือ
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ ได้แก่
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
กฎหมายในสมัยสุโขทัยที่สำคัญคือในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพิจารณาตามข้อความในศิลาจารึกแล้ว พอจะแยกกล่าวได้เป็นลักษณะดังนี้
1. กฎหมายลักษณะพิจารณาความ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…ไพร่ฝ้าลูกเจ้าลูกขุน ผี้แล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พีน เห็นสี่นท่านบ่ใคร่เดือด…"
เมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นระหว่างราษฎร รวมทั้งลูกเจ้าลูกขุน ถ้าอยู่ใกล้พระราชวัง ก็ให้ไปสั่นกระดิ่งที่ปากประตูพระราชวัง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็จะชำระคดีให้ด้วยพระองค์เอง ถ้าราษฎรอยู่ไกลไปมาลำบาก ทางการก็จะมีผู้ตัดสินกรณีพิพาทประจำตามความเป็นจริงและยุติธรรมที่สุด ผู้ตัดสินความที่เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์จะต้องมีหลักธรรมประจำใจด้วยว่า หากจะมีฝ่ายใดให้สินบน จะตัดสินล้มคดีไม่ได้ ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง กินสินบาทคาดสินบนในการพิจารณาคดี พร้อมกับเตือนมิให้ใยดีกับข้าวของเงินทองของผู้อื่นด้วย
2. กฎหมายว่าด้วยเรื่องภาษี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
" …เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า… "
แสดงให้เห็นว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการค้าขายกันโดยเสรี ไม่มีการริดรอนสิทธิของราษฎร และไม่มีการเก็บภาษีอากร
3. กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…"
ลักษณะนี้เป็นลักษณะจับจองที่ดิน ปลูกพึชผลไม้ทำสวนต่าง ๆ มีสวนมะพร้าว สวนมะม่วง สวนขนุน เป็นต้น ใครเป็นผู้แผ้วถางจับจองแล้วก็มีสิทธิ์ตรงนั้น ได้กรรมสิทธิ์และถือเป็นทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกถึงทายาทด้วย
4. กฎหมายว่าด้วยมรดก ในศิลาจารึกมีว่า
"…ไพร่ฝ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า อย้าวเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอ ลูกเมีย เยียเข้า ไพร่ฝ้าข้าไทย ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น…"
ประชาราษฎรในกรุงสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นลูกข้าราชการหรือราษฎรทั่วไป เมื่อตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือหายสาบสูญไปอย่างหนึ่งอย่างใด ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เป็นของพ่อแม่ ที่ล้มหายตายจากไปถือว่าตกเป็นมรดกของลูกหลานทั้งหมด
5. กฎหมายระหว่างประเทศ ในศิลาจารึกมีว่า
"…คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื่อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มี เงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพู่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…"
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีอาณาจักรใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่มีช้างก็หาให้ ไม่มีม้าก็หาให้ ไม่มีปัว (บ่าว) ก็หาให้ ช่วยตั้งบ้านเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ที่เป็นเชลยศึกก็ไม่ฆ่าไม่ทำร้าย
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
กฎหมายในสมัยสุโขทัยที่สำคัญคือในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพิจารณาตามข้อความในศิลาจารึกแล้ว พอจะแยกกล่าวได้เป็นลักษณะดังนี้
1. กฎหมายลักษณะพิจารณาความ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…ไพร่ฝ้าลูกเจ้าลูกขุน ผี้แล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พีน เห็นสี่นท่านบ่ใคร่เดือด…"
เมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นระหว่างราษฎร รวมทั้งลูกเจ้าลูกขุน ถ้าอยู่ใกล้พระราชวัง ก็ให้ไปสั่นกระดิ่งที่ปากประตูพระราชวัง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็จะชำระคดีให้ด้วยพระองค์เอง ถ้าราษฎรอยู่ไกลไปมาลำบาก ทางการก็จะมีผู้ตัดสินกรณีพิพาทประจำตามความเป็นจริงและยุติธรรมที่สุด ผู้ตัดสินความที่เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์จะต้องมีหลักธรรมประจำใจด้วยว่า หากจะมีฝ่ายใดให้สินบน จะตัดสินล้มคดีไม่ได้ ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง กินสินบาทคาดสินบนในการพิจารณาคดี พร้อมกับเตือนมิให้ใยดีกับข้าวของเงินทองของผู้อื่นด้วย
2. กฎหมายว่าด้วยเรื่องภาษี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
" …เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า… "
แสดงให้เห็นว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการค้าขายกันโดยเสรี ไม่มีการริดรอนสิทธิของราษฎร และไม่มีการเก็บภาษีอากร
3. กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…"
ลักษณะนี้เป็นลักษณะจับจองที่ดิน ปลูกพึชผลไม้ทำสวนต่าง ๆ มีสวนมะพร้าว สวนมะม่วง สวนขนุน เป็นต้น ใครเป็นผู้แผ้วถางจับจองแล้วก็มีสิทธิ์ตรงนั้น ได้กรรมสิทธิ์และถือเป็นทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกถึงทายาทด้วย
4. กฎหมายว่าด้วยมรดก ในศิลาจารึกมีว่า
"…ไพร่ฝ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า อย้าวเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอ ลูกเมีย เยียเข้า ไพร่ฝ้าข้าไทย ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น…"
ประชาราษฎรในกรุงสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นลูกข้าราชการหรือราษฎรทั่วไป เมื่อตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือหายสาบสูญไปอย่างหนึ่งอย่างใด ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เป็นของพ่อแม่ ที่ล้มหายตายจากไปถือว่าตกเป็นมรดกของลูกหลานทั้งหมด
5. กฎหมายระหว่างประเทศ ในศิลาจารึกมีว่า
"…คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื่อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มี เงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพู่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…"
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีอาณาจักรใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่มีช้างก็หาให้ ไม่มีม้าก็หาให้ ไม่มีปัว (บ่าว) ก็หาให้ ช่วยตั้งบ้านเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ที่เป็นเชลยศึกก็ไม่ฆ่าไม่ทำร้าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)