22 พฤษภาคม 2553
การปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
การปกครองสมัยอยุธยา
การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาตรวจตราการทหาร รวบรวมไพร่พลและเสบียงเตรียมพร้อมเมื่อมีศึก และสมุหนายก บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนและดูแลจตุสดมภ์ นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานขึ้น จากเดิม 4 กรม เป็น 6 กรม ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กรม คือ
1) กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
2) กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศนอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมละรับผิดชอบในแต่ละกรม ดังนี้ กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดีอนึ่ง เนื่องจากในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงย้ายที่ประทับไปที่เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 25 ปี (พ.ศ. 2006 - 2031) หลังจากที่ทรงประทับอยู่ที่ราชธานีมาตั้งแต่ครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี (พ.ศ. 1991 - 2006) ทำให้เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่งมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่เมืองนี้โดยให้เมืองอยุธยามีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กระทั่งมาถึงในรัชกาลต่อมา คือในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงได้ย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตามเดิม
การปกครองส่วนภูมิภาค
จัดตามแบบของสุโขทัย เพราะเมืองส่วนใหญ่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัยมาก่อนซึ่งมีการแบ่งเมืองออกเป็น 4 ระดับ โดยกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลาง คือ1) เมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการป้องกันราชธานี ใช้เวลาในการเดินทางมาถึงราชธานีไม่เกิน 2 วัน มักเป็นเมืองใหญ่ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ มี 4 เมือง อยู่ทั้ง 4 ทิศ ซึ่งจะมีการแต่งตั้งให้พระราชโอรสหรือเจ้านายชั้นสูงที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง
ทิศเหนือ - เมืองลพบุรี
ทิศใต้ - เมืองพระประแดง
ทิศตะวันตก - เมืองสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก - เมืองนครนายก
2) หัวเมืองชั้นใน อยู่ถัดจากเมืองหน้าด่านออกไป แต่ยังไม่ไกลจากราชธานีมากนัก จะมีการแต่งตั้งให้เจ้านายหรือขุนนางไปปกครอง เรียกว่า ผู้รั้งเมือง หัวเมืองชั้นในเหล่านี้ได้แก่ ปราจีนบุรี ราชบุรี สิงห์บุรี เพชรบุรี ชลบุรี
3) หัวเมืองชั้นนอก หรือเมืองพระยามหานคร เป็นเมืองที่อยู่ห่างจากราชธานีออกไป ผู้ปกครองเมืองจะมาจากคนในท้องถิ่นด้วยกันและสืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่เคยปกครองหัวเมืองเหล่านั้นหัวเมืองชั้นนอกเหล่านี้จะมีหน่วยงานสำหรับควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของตัวเองเหมือนในราชธานี เช่น มีจตุสดมภ์เหมือนกัน รายได้ของแผ่นดินในท้องถิ่นที่เกิดจากภาษีอากรจะต้องส่งไปให้เมืองหลวงรวมถึงส่วยและการเกณฑ์แรงงานผู้คนไปช่วยราชการของบ้านเมืองตามที่ถูกเรียกไปยังราชธานี ในบางครั้งผู้ที่ปกครองหัวเมืองชั้นนอกนี้อาจเป็นขุนนางที่ถูกแต่งตั้งจากเมืองหลวงไปตามแต่ความเหมาะสม หัวเมืองชั้นนอกนี้ ได้แก่ โคราช ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง ถลาง สงขลา
4) หัวเมืองประเทศราช คือเมืองขึ้นของอยุธยา จะยังให้มีอิสระในการปกครองตนเอง แต่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ที่เมืองหลวง เช่น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง เพื่อแสดงความจงรักภักดีและความอ่อนน้อมในฐานะเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองประเทศราช หัวเมืองประเทศราชในสมัยนั้น ได้แก่ เขมร สุโขทัย เชียงใหม่ มะละกา ยะโฮว์
การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1981 ทำให้อาณาจักรมีขนาดกว้างขวางขึ้นดูแลไม่ทั่วถึง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงใหม่มีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือจัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางและแยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกันซึ่งได้ใช้เป็นแบบแผนจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหม รับผิดชอบด้านการทหาร มีหน้าที่บังคัญชาตรวจตราการทหาร รวบรวมไพร่พลและเสบียงเตรียมพร้อมเมื่อมีศึก และสมุหนายก บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนและดูแลจตุสดมภ์ นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานขึ้น จากเดิม 4 กรม เป็น 6 กรม ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 2 กรม คือ
1) กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
2) กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศนอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรม ดังนี้ กรมเมือง (เวียง) มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดีอนึ่ง เนื่องจากในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงย้ายที่ประทับไปที่เมืองพิษณุโลก เป็นเวลา 25 ปี (พ.ศ. 2006 - 2031) หลังจากที่ทรงประทับอยู่ที่ราชธานีมาตั้งแต่ครองราชย์เป็นเวลา 15 ปี (พ.ศ. 1991 - 2006) ทำให้เมืองพิษณุโลกมีฐานะเป็นเมืองหลวงอยู่ระยะหนึ่งมีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่เมืองนี้โดยให้เมืองอยุธยามีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง กระทั่งมาถึงในรัชกาลต่อมา คือในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงได้ย้ายราชธานีกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาตามเดิม
การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1) หัวเมืองชึ้นใน ทรงยกเลิกเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่านทั้ง 4 ทิศที่เคยมีมา แล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยาไปทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้น ไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง เมืองที่จัดให้เป็นหัวเมืองชั้นใน ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี ปราณบุรี สมุทรสงคราม นครชัยศรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก 2) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูงเป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ซึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองนั้น และมีกรมการพนักงานปกครองทุกอย่างเช่นในราชธานี หัวเมืองชั้นเอก ได้แก่ เมืองพิษณุโลก นครศรีธรรมราช หัวเมืองชั้นโท ได้แก่ เมืองสุโขทัย กำแพงเพชร หัวเมืองชั้นตรี ได้แก่ พิจิตร พิชัย นครสวรรค์ ฉะเชิงเทรา พัทลุง รวมถึงเมืองขนาดเล็กอื่นๆ3) หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง เพียงแต่ต้องมีหน้าที่ต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง และเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาตามเวลาที่กำหนด และอาจเกณฑ์ไพร่พลและสิ่งของมาช่วยราชการตามที่ราชธานีตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงไป หัวเมืองประเทศราชในสมัยนั้น ได้แก่ เขมร ปัตตานี มะละกา เชียงกราน ตะนาวศรี ทวาย
นอกจากนี้ยังมีการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้มีการแบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1) บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2) ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้า มีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3) แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4) เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่
1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด กรมสุรัสวดีมีหน้าที่ทำบัญชีหางว่าวและแยกประเภทว่าขุนนางมีเลกในสังกัดเท่าใด เพื่อจะได้สะดวกในการเรียกเข้าประจำการ
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)
การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
เกิดขึ้นในสมัยพระเพทราชา โดยให้คงการปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งไว้ แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การให้สมุหพระกลาโหมไปรับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งทหารและพลเรือน ให้สมุหนายกรับผิดชอบหัวเมืองทางเหนือทั้งทหารและพลเรือน รวมถึงดูแลจตุสดมภ์ในส่วนกลาง และพระโกษาธิบดีซึ่งเป็นเสนาบดีกรมคลัง นอกจากดูแลเกี่ยวกับเรื่องรายได้ของแผ่นดินและการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศแล้ว ให้ไปคุมหัวเมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทั้งทหารและพลเรือนอีกด้วย เพื่อเป็นการง่ายต่อการเรียกกำลังพล เพราะในยามสงคราม ชายฉกรรจ์ทุกคนจะต้องออกรบอยู่แล้วและป้องกันการก่อกบฎล้มราชวงศ์กษัตริย์ที่เกิดขึ้นมากในระยะหลังโดยสมุหพระกลาโหม เพราะมีอำนาจคุมกำลังทหารไว้จำนวนมาก สามารถกระทำการใดๆ ได้โดยง่าย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง โดยให้เสนาบดีกรมคลังไปคุมหัวเมืองทางใต้แทนสมุหพระกลาโหม คงเหลือให้สมุหพระกลาโหมมีหน้าที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น สันนิษฐานว่าสมุหพระกลาโหมอาจกระทำความผิดบางอย่างจึงถูกลดอำนาจหน้าที่ลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น