ยุคสมัยกรุงสุโขทัย
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดรัก ทิศตะวันตกจรดเมืองหงสาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัยแก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศราชติดต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
ลักษณะการปกครองสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น และการปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น เมื่อขอมปกครองสุโขทัยใช้ระบบการปกครองแบบ นายปกครองบ่าว เมื่อสถาปนากรุงสุโขทัยขึ้นใหม่ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงจัดการปกครองใหม่เป็นแบบ บิดาปกครองบุตร หรือ พ่อปกครองลูก หรือ ปิตุลาธิปไตย ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1. รูปแบบราชาธิปไตย หมายถึง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองสูงสุด ทรงใช้อำนาจสูงสุดที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย
2. รูปแบบบิดาปกครองบุตร หมายถึง พระมหากษัตริย์ ทรงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมาก จึงเปรียบเสมือนเป็นหัวหน้าครอบครัว หรือ พ่อ จึงมักมีคำนำหน้าพระนามว่า พ่อขุน
3. ลักษณะลดหลั่นกันลงมาเป็นขั้น ๆ เริ่มจากหลายครอบครัวรวมกันเป็นบ้าน มี พ่อบ้าน เป็นผู้ปกครอง หลายบ้านรวมกันเป็นเมือง มี พ่อเมือง เป็นผู้ปกครอง หลายเมืองรวมกันเป็นประเทศ มี พ่อขุน เป็นผู้ปกครอง
4. การยึดหลักธรรมในพุทธศาสนาในการบริหารบ้านเมือง
2. การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย การปกครองแบบบิดาปกครองบุตรเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มั่นคง เกิดความรำส่ำระสาย เมืองต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ พระมหาธรรมราชาที่ 1 จึงทรงดำเนินพระราชกุศโลบาย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และทรงปฏิบัติธรรมเป็นตัวอย่างแก่ราษฏรเพื่อให้ราษฎรเลื่อมใสศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา สร้างความสามัคคีในบ้านเมือง ลักษณะการปกครองสุโขทัยตอนปลายจึงเป็นแบบ ธรรมราชา ดังนั้นจึงนับได้ว่าพระองค์ธรรมราชาพระองค์แรก และพระมหากษัตริย์องค์ต่อมาทรงพระนามว่า พระมหาธรรมราชาทุกพระองค์
การปกครองสมัยสุโขทัย การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
การปกครองสมัยสุโขทัย การเมืองการปกครอง สมัยสุโขทัย แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. การปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็นลักษณะเด่นของการปกครองตนเองในสมัยสุโขทัย การปกครองลักษณะนี้ พระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนพ่อของประชาชน และปลูกฝังความรู้สึกผูกพันระหว่างญาติมิตร การปกครองเช่นนี้เด่นชัดมากในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
2. การปกครองแบบธรรมราชาหรือธรรมาธิปไตย ลักษณะการปกครองทรงยึดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และต้องเผยแพร่ธรรมะ สู่ประชาชนด้วย การปกครองแบบธรรมราชานั้นเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 พระองค์ทรงออกบวชและศึกษาหลักธรรมอย่างแตกฉาน นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถา (ไตรภูมิพระร่วง) ไว้ให้ประชาชนศึกษาอีกด้วย
3. ทรงปกครองโดยยึดหลักสิทธิเสรีภาพ เป็นการปกครองที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แต่ให้มีสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพด้านต่าง ๆ ตามความถนัดเป็นต้น
การปกครองของอาณาจักรสุโขทัย แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ลักษณะคือ
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่
(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ
(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร ได้แก่ เมืองหล่ม เมืองเพชรบูรณ์ เมืองศรีเทพ เมืองแพรก(สรรค์บุรี) เมืองสุพรรณบุรี(อู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองตะนาวศรี
(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ ได้แก่
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
กฎหมายในสมัยสุโขทัยที่สำคัญคือในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพิจารณาตามข้อความในศิลาจารึกแล้ว พอจะแยกกล่าวได้เป็นลักษณะดังนี้
1. กฎหมายลักษณะพิจารณาความ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…ไพร่ฝ้าลูกเจ้าลูกขุน ผี้แล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พีน เห็นสี่นท่านบ่ใคร่เดือด…"
เมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นระหว่างราษฎร รวมทั้งลูกเจ้าลูกขุน ถ้าอยู่ใกล้พระราชวัง ก็ให้ไปสั่นกระดิ่งที่ปากประตูพระราชวัง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็จะชำระคดีให้ด้วยพระองค์เอง ถ้าราษฎรอยู่ไกลไปมาลำบาก ทางการก็จะมีผู้ตัดสินกรณีพิพาทประจำตามความเป็นจริงและยุติธรรมที่สุด ผู้ตัดสินความที่เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์จะต้องมีหลักธรรมประจำใจด้วยว่า หากจะมีฝ่ายใดให้สินบน จะตัดสินล้มคดีไม่ได้ ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง กินสินบาทคาดสินบนในการพิจารณาคดี พร้อมกับเตือนมิให้ใยดีกับข้าวของเงินทองของผู้อื่นด้วย
2. กฎหมายว่าด้วยเรื่องภาษี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
" …เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า… "
แสดงให้เห็นว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการค้าขายกันโดยเสรี ไม่มีการริดรอนสิทธิของราษฎร และไม่มีการเก็บภาษีอากร
3. กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…"
ลักษณะนี้เป็นลักษณะจับจองที่ดิน ปลูกพึชผลไม้ทำสวนต่าง ๆ มีสวนมะพร้าว สวนมะม่วง สวนขนุน เป็นต้น ใครเป็นผู้แผ้วถางจับจองแล้วก็มีสิทธิ์ตรงนั้น ได้กรรมสิทธิ์และถือเป็นทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกถึงทายาทด้วย
4. กฎหมายว่าด้วยมรดก ในศิลาจารึกมีว่า
"…ไพร่ฝ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า อย้าวเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอ ลูกเมีย เยียเข้า ไพร่ฝ้าข้าไทย ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น…"
ประชาราษฎรในกรุงสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นลูกข้าราชการหรือราษฎรทั่วไป เมื่อตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือหายสาบสูญไปอย่างหนึ่งอย่างใด ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เป็นของพ่อแม่ ที่ล้มหายตายจากไปถือว่าตกเป็นมรดกของลูกหลานทั้งหมด
5. กฎหมายระหว่างประเทศ ในศิลาจารึกมีว่า
"…คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื่อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มี เงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพู่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…"
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีอาณาจักรใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่มีช้างก็หาให้ ไม่มีม้าก็หาให้ ไม่มีปัว (บ่าว) ก็หาให้ ช่วยตั้งบ้านเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ที่เป็นเชลยศึกก็ไม่ฆ่าไม่ทำร้าย
ทิศตะวันออก - เมืองน่าน เมืองเซ่า(เมืองหลวงพระบาง) เวียงจันทร์ เวียงคำ
ทิศใต้ - เมืองนครศรีธรรมราช เมืองมะละกา และเมืองยะโฮร์
ทิศตะวันตก - เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี
กฎหมายในสมัยสุโขทัยที่สำคัญคือในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อพิจารณาตามข้อความในศิลาจารึกแล้ว พอจะแยกกล่าวได้เป็นลักษณะดังนี้
1. กฎหมายลักษณะพิจารณาความ ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…ไพร่ฝ้าลูกเจ้าลูกขุน ผี้แล้ผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้จึ่งแล่งความแก่ขาด้วยซื่อ บ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน เห็นเข้าท่านบ่ใคร่พีน เห็นสี่นท่านบ่ใคร่เดือด…"
เมื่อมีกรณีพิพาทขึ้นระหว่างราษฎร รวมทั้งลูกเจ้าลูกขุน ถ้าอยู่ใกล้พระราชวัง ก็ให้ไปสั่นกระดิ่งที่ปากประตูพระราชวัง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชก็จะชำระคดีให้ด้วยพระองค์เอง ถ้าราษฎรอยู่ไกลไปมาลำบาก ทางการก็จะมีผู้ตัดสินกรณีพิพาทประจำตามความเป็นจริงและยุติธรรมที่สุด ผู้ตัดสินความที่เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์จะต้องมีหลักธรรมประจำใจด้วยว่า หากจะมีฝ่ายใดให้สินบน จะตัดสินล้มคดีไม่ได้ ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง กินสินบาทคาดสินบนในการพิจารณาคดี พร้อมกับเตือนมิให้ใยดีกับข้าวของเงินทองของผู้อื่นด้วย
2. กฎหมายว่าด้วยเรื่องภาษี ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
" …เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีเข้า เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทอง ค้า… "
แสดงให้เห็นว่า สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีการค้าขายกันโดยเสรี ไม่มีการริดรอนสิทธิของราษฎร และไม่มีการเก็บภาษีอากร
3. กฎหมายว่าด้วยที่ดิน ปรากฏในศิลาจารึกว่า
"…สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน…"
ลักษณะนี้เป็นลักษณะจับจองที่ดิน ปลูกพึชผลไม้ทำสวนต่าง ๆ มีสวนมะพร้าว สวนมะม่วง สวนขนุน เป็นต้น ใครเป็นผู้แผ้วถางจับจองแล้วก็มีสิทธิ์ตรงนั้น ได้กรรมสิทธิ์และถือเป็นทรัพย์สินที่เป็นมรดกตกถึงทายาทด้วย
4. กฎหมายว่าด้วยมรดก ในศิลาจารึกมีว่า
"…ไพร่ฝ้าหน้าใสลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า อย้าวเรือนพ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอ ลูกเมีย เยียเข้า ไพร่ฝ้าข้าไทย ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมัน ไว้แก่ลูกมันสิ้น…"
ประชาราษฎรในกรุงสุโขทัยไม่ว่าจะเป็นลูกข้าราชการหรือราษฎรทั่วไป เมื่อตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บหรือหายสาบสูญไปอย่างหนึ่งอย่างใด ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่เป็นของพ่อแม่ ที่ล้มหายตายจากไปถือว่าตกเป็นมรดกของลูกหลานทั้งหมด
5. กฎหมายระหว่างประเทศ ในศิลาจารึกมีว่า
"…คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ ช่อยเหนือเฟื่อกู้ มันบ่มีช้าง บ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มี เงือนบ่มีทอง ให้แก่มัน ช่อยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเสือกข้าเสือหัวพู่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบ่ตี…"
สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีอาณาจักรใกล้เคียงเข้ามาอ่อนน้อมสวามิภักดิ์ด้วย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ไม่มีช้างก็หาให้ ไม่มีม้าก็หาให้ ไม่มีปัว (บ่าว) ก็หาให้ ช่วยตั้งบ้านเมืองให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ที่เป็นเชลยศึกก็ไม่ฆ่าไม่ทำร้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น